บทที่๖ คุณค่าทางวรรณคดีสิงหไกรภพ


 คุณค่าทางวรรณคดีสิงหไกรภพ



นิทานคำกลอนเรื่องสิงหไกรภพนี้ นอกจากเนื้อเรื่องให้ความสนุกเพลิดเพลินแล้ว บทกวีนิพนธ์ยังมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ สำนวนโวหารและลีลาการประพันธ์สร้างความประทับใจแก่ผู้อ่านอยู่หลายตอน ดังบทกลอนที่พรรณนาถึงนกในป่าตอนหนึ่งว่า

ยินสำเนียงเสียงกาโกญจาก้อง             บ้างเมียงมองเขาไม้ไพรระหง
บ้างบินพริบลิบลับจับพุ่มพง               ลางตัวลงเลียบเชิงละเลิงลาน
จับจิงจ้อจอแจจอกจิบจาบ                   คุ่มตะขาบคาบแคเขาขันขาน
ทึดทือเที่ยวท่องเถื่อนในท้องธาร         แสนสงสารแซ่ซ้องโซเซซอน



นอกจากนี้เรื่องสิงหไกรภพยังแทรกด้วยสาระด้านการปกครองบ้านเมือง สังคม ประเพณี และขนบธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันดีงามของคนไทยรวมทั้งคติธรรมและความเชื่ออันเนื่องมาจากพุทธศาสนาโดยเฉพาะในเรื่อง กรรม” ว่าเป็นเครื่องบันดาลหรือเครื่องสร้างทุกอย่าง บุคคลทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ซึ่งสุนทรภู่ได้ถ่ายทอดความเชื่อนี้ไว้ในความคิดและพฤติกรรมของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง เช่น

เราชาตินี้มีกรรมนั้นแสนสุด                ไม่มีบุตรสืบสร้างพระศาสนา
เมื่อถึงกรรมจำตายวายชีวี                     ถึงอยู่ที่ไหนไหนก็ไม่พ้น
สงสารสุดนุชน้องเจ้าทรงครรภ์            มาจากกันกรรมสร้างแต่ปางใด


สุนทรภู่ยังสอดแทรกคติธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้ในลักษณะข้อคิด คำสอน ดังนี้

                 เรื่องไตรลักษณ์
แล้วหวนห้ามความโศกให้สิ้นสุด        ด้วยคำพุทธไตรเพทเทศนา
เป็นทุกขังอนิจจังอนัตตา                     อันเกิดมาเป็นบุคคลไม่พ้นตาย
สุขกันโศกเหมือนหนึ่งโรคสำหรับร่าง             รำพึงพลางหักให้พระทัยหาย
กลับคืนเข้าแท่นสุวรรณพรรณราย       ตรัสสอนสายสุดสวาทนาฏอนงค์

                สัจธรรมของชีวิต
อันรูปเหมือนเรือนโรคโสโครกครบ เครื่องอาศภสูญกลับอัปลักษณ์
ล้วนเปื่อยเน่าเก่าลงอย่าหลงนัก ไม่พักรักรูปนี้เกลียดรังเกียจใจ

     บุตรพึงปฏิบัติต่อบิดามารดา
พระชนกชนนีเป็นที่ยิ่ง ไม่ควรทิ้งทอดพระคุณให้สูญหาย
แม้นมารดรร้อนโรคทุกข์โศกเศร้า จะมาเฝ้าฟูมฟักอยู่รักษา

     ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี
จงทำชอบนอบน้อมค่อยออมอด บำรุงรสรักใคร่อย่าให้หมอง
แม่เนื้อเย็นเป็นที่พึ่งพี่น้อง จงตรึกตรองครององค์ให้จงดี
หนึ่งบิตุราชมาตุรงค์ของทรงฤทธิ์     อย่าควรคิดขัดข้องให้หมองศรี
จงฝากองค์วงศาสวามี ได้เป็นที่พึ่งพาให้ถาวร

     การปกครองแผ่นดิน
จงสัตย์ซื่อถือบทตามกฎหมาย อย่าคิดร้ายทุจริตผิดวิสัย
แม้นประมาทราชทัณฑ์จะบรรลัย ทำชอบได้เกียรติยศจะงดงาม
แม้นมีศึกฮึกสู้มาจู่จาบ คิดปรามปราบเสียให้เตียนซึ่งเสี้ยนหนาม
ได้เย็นเกล้าชาวบูรีแลชีพราหมณ์ เจริญความสุขสง่าแก่ธานี

  ทั้งยังกล่าวไว้เป็นสุภาษิต คำพังเพย ซึ่งให้แนวทางการดำเนินชีวิตอันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น                     เหมือนต่อเรือเหลือลํ้ากว่าลำคลอง  จึงขัดข้องค้างนํ้าต้องตำรา
     เหมือนหิ่งห้อยน้อยแสงจะแข่งแข       จะมีแต่อัปภาคย์ยากหนักหนา 
และ  - อันน้ำน้อยแพ้ไฟดับไม่หาย - ชลธารน้อยนักแพ้อัคคี
         - อยู่ใต้ฟ้าแล้วตัวอย่ากลัวฝน         - เหมือนคงคาขึ้นคงกลับลงคลอง
         - เหมือนเสียเกลือเนื้อเน่าไม่เข้ายา - ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย


คุณค่าของวรรณคดี

    . คุณค่าทางศีลธรรม
กวีสอดแทรกคติ คำสอน และศีลธรรม ไว้ในเนื้อเรื่องบ้าง ถ้อยคำบรรยายบ้าง ในถ้อยคำสนทนาบ้าง ผู้อ่านรับคติ ข้อคิดที่ดีงามไปโดยไม่รู้ตัว

    . คุณค่าทางปัญญา
ผู้อ่านจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นได้ข้อคิด ขยายทัศนคติให้กว้างขวางขึ้น

   ๓. คุณค่าทางอารมณ์
ทำให้ผู้อ่านเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละคร ทั้งความดีใจ ความเสียใจ ความโกรธ ความรัก ความกลัว เป็นต้น ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามหรืออารมณ์สะเทือนใจไปด้วย

    . คุณค่าทางวัฒนธรรม
วรรณคดีทำหน้าที่สืบต่อวัฒนธรรมของชาติจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งวรรณคดีจะสอดแทรกวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นมนุษย์ ประเพณีต่าง ๆ ของสังคม

    . คุณค่าทางประวัติศาสตร์
ถ้าอ่านประวัติศาสตร์ จะเบื่อหน่ายหลงลืม แต่ถ้าอ่านวรรณคดี เช่น ลิลิตตะเลงพ่าย จะจำเรื่องยุทธ์หัตถีได้ดีขึ้น และเห็นความสำคัญของเหตุการณ์กับบ้านเมือง

    . คุณค่าทางจินตนาการ
ผู้มีจินตนาการ มักเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล ทำสิ่งใดด้วยความรอบคอบ

    . คุณค่าทางทักษะเชิงวิจารณ์
การอ่านมาก เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ชีวิต วรรณคดีเป็นสิ่งยั่วยุให้ผู้อ่านใช้ความคิดตรึกตรอง ตัดสินว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี เป็นการฝึกการใช้วิจารณญาณ ก่อให้เกิดทักษะเชิงวิจารณ์

    . คุณค่าในด้านวรรณศิลป์
คือคุณค่าในด้านการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ มีการบรรยายการเปรียบเทียบได้ชัดเจนทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพมีถ้อยคำสำนวนที่ ให้แง่คิด คติสอนใจ ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

   . คุณค่าในด้านสภาพชีวิตสมัยบรรพบุรุษ
ทำให้ผู้อ่านได้ทราบสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยนั้น และบางเรื่อง กวีได้นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาเป็นข้อมูลในการแต่ง ซึ่งผู้อ่านสามารถนำมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้

    ๑๐. คุณค่าในด้านศิลปะอื่น ๆ
วรรณคดีเรื่องสิงหไกรภพยังให้ความรู้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านในด้านศิลปะต่างๆ เช่น สถาปัตยกรรม จิตกรรม เพลง ละครภาพยนต์ เป็นต้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น