บทที่๒ ประวัติวรรณคดีสิงหไกรภพ


ประวัติวรรณคดีสิงหไกรภพ



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพวรรณคดีสิงหไกรภพ





สิงหไตรภพ เป็นกลอนนิทานเรื่องหนึ่ง ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่ มักนิยมเรียกกันในชั้นหลังว่า สิงหไตรภพ เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์เมื่อครั้งถวายพระอักษร และในภายหลังได้แต่งต่อเพื่อถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ฯ
สิงหไกรภพเป็นิทานคำกลอนที่มีเค้าโครงเนื้อเรื่องสนุกสนานการผูกเรื่องชวนให้อ่านติดตามประกอบกับมีสำนวนโวหารที่จับใจผู้อ่านหลายตอนและเนื้อหาของเรื่องให้สาระอันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้อ่าน จึงทำให้วรรณคดีเรื่องสิงหไกรภพเป็นที่ชื่นชอบและติดตรึงใจคนไทยมาช้านาน 
เนื้อเนื้อเรื่องของสิงหไตรภพ เกี่ยวกับตัวละครเอก ชื่อสิงหไตรภพ ที่พลัดบ้านเมืองแต่เล็ก ถูกลักพาตัวไปและเลี้ยงดูเติบโตขึ้นมาในบ้านพราหมณ์จินดา สิงหไตรภพเรียกพราหมณ์ว่าพี่ชาย เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการผจญภัยของสองพี่น้องนี้และมีมนตร์วิเศษน่าตื่นตาตื่นใจเหมาะแก่การเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็กจึงเป็นกลอนนิทานที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้งและมักใช้ชื่อเรื่องว่า"สิงหไกรภพ"


    ผู้แต่ง 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

        ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่ 


จุดมุ่งหมายในการแต่ง

สิงหไกรภพ เป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวรองลงมาจากเรื่องพระอภัยมณี คือมีความ ยาว ๑๕ เล่มสมุดไทย 
บางคนกล่าวว่าสุนทรภู่แต่งเรื่องนี้เพื่อประชันกับเรื่องไกรทองพระราชนิพนธ์ ในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย 
นายธนิต อยู่โพธิ์ กล่าวว่าสุนทรภู่เริ่มแต่งนิทานเรื่องนี้ ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๖๗) เพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ (ขณะนั้นยังทำหน้าที่ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์อยู่) แล้วมา แต่งต่อในสมัยรัชกาลที่ ๓ เข้าใจว่าแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ แต่เรื่องค้างอยู่ แต่งไม่จบ 


ลักษณะคำประพันธ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพสิงหไกรภพฉันทลักษณ์

กลอนบทละคร เป็นกลอนสุภาพประเภทหนึ่งจัดอยู่ในหมวดกลอนขับร้อง เช่นเดียวกับกลอน ดอกสร้อยสักวา กลอนเสภา และเพลงไทยเดิม


วัตถุประสงค์ในการแต่งกลอนบทละคร 
             เพื่อนำไปแสดงละครร้องและรำ ซึ่งในอดีตถือเป็นการแสดงชั้นสูงที่มีเฉพาะในรั้วในวังเท่านั้น 


ลักษณะบังคับ (ฉันทลักษณ์)
กลอนบทละคร เช่นเดียวกับกลอนสุภาพ แต่จำนวนคำในวรรค จะอยู่ที่จำนวน ๖-๗ เป็นส่วน มาก ทั้งนี้เพื่อให้จังหวะของเสียงเข้ากับท่าร่ายรำของตัวละคร และท่วงทำนองเพลงปี่พาทย์ 
          นอกจากนี้ กลอนบทละคร จะมีคำนำ ในบางบท เพื่อบอกถึงการกระทำ หรือเหตุการณ์สำคัญ ที่ กำลังดำเนินไป ซึ่งจะมีอยู่ ๒ คำ คือ "เมื่อนั้น" กับ "บัดนั้น"คำว่า "เมื่อนั้น" ใช้สำหรับตัวละครสูงศักดิ์ ส่วนคำว่า"บัดนั้น" ใช้สำหรับตัวละครชั้นสามัญ 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น