วันพุธที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2560

บทที่8 สิงหไกรภพฉบับการ์ตูน




สิงหไกรภพฉบับการ์ตูน













     แหล่งอ้างอิง

             https://sites.google.com/site/zzxzzx23tyutyu57/tanan/sing-ha-kir-phph. เรื่องเล่าตำนาน ชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา.
               https://www.youtube.com/watch?v=RPhPA3d8M6s. สิงหไกรภพฉบับการ์ตูน.
   http://maewwarunee.blogspot.com/p/blog-page_565.html.  นิทานพื้นบ้าน.
   http://vajirayana.org.com. วชิรญาณ.
   https://th.wikipedia.org/wiki.
   http://www.silpathai.net.
   http://www.sookjai.com.
   http://my.dek-d.com.
หนังสือเล่าเรื่อง สิงหไกรภพ เรียบเรียงโดย รศ.วิเชียร เกษประทุม
       

บทที่7 ตัวอย่างบทประพันธ์แบบภาพประกอบ



ตัวอย่างบทประพันธ์แบบภาพประกอบ

- ตอนที่นางจันทรฝันว่า จะได้ตั้งครรภ์สิงหไกรภพ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพการ์ตูนตัวละครสิงหไกรภพ





บทที่6 คุณค่าทางวรรณคดีสิงหไกรภพ



คุณค่าทางวรรณคดีสิงหไกรภพ



นิทานคำกลอนเรื่องสิงหไกรภพนี้ นอกจากเนื้อเรื่องให้ความสนุกเพลิดเพลินแล้ว บทกวีนิพนธ์ยังมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ สำนวนโวหารและลีลาการประพันธ์สร้างความประทับใจแก่ผู้อ่านอยู่หลายตอน ดังบทกลอนที่พรรณนาถึงนกในป่าตอนหนึ่งว่า

ยินสำเนียงเสียงกาโกญจาก้อง             บ้างเมียงมองเขาไม้ไพรระหง
บ้างบินพริบลิบลับจับพุ่มพง                ลางตัวลงเลียบเชิงละเลิงลาน
จับจิงจ้อจอแจจอกจิบจาบ                   คุ่มตะขาบคาบแคเขาขันขาน

ทึดทือเที่ยวท่องเถื่อนในท้องธาร         แสนสงสารแซ่ซ้องโซเซซอน


นอกจากนี้เรื่องสิงหไกรภพยังแทรกด้วยสาระด้านการปกครองบ้านเมือง สังคม ประเพณี และขนบธรรมเนียมปฏิบัติ ซึ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันดีงามของคนไทย รวมทั้งคติธรรมและความเชื่ออันเนื่องมาจากพุทธศาสนา โดยเฉพาะในเรื่อง กรรมว่าเป็นเครื่องบันดาลหรือเครื่องสร้างทุกอย่าง บุคคลทำกรรมอันใดไว้ ดีก็ตาม ชั่วก็ตาม ย่อมได้รับผลของกรรมนั้น ซึ่งสุนทรภู่ได้ถ่ายทอดความเชื่อนี้ไว้ในความคิดและพฤติกรรมของตัวละครตลอดทั้งเรื่อง เช่น

เราชาตินี้มีกรรมนั้นแสนสุด                ไม่มีบุตรสืบสร้างพระศาสนา
เมื่อถึงกรรมจำตายวายชีวี                     ถึงอยู่ที่ไหนไหนก็ไม่พ้น
สงสารสุดนุชน้องเจ้าทรงครรภ์           มาจากกันกรรมสร้างแต่ปางใด


สุนทรภู่ยังสอดแทรกคติธรรมทางพระพุทธศาสนาไว้ในลักษณะข้อคิด คำสอน ดังนี้

                 เรื่องไตรลักษณ์
แล้วหวนห้ามความโศกให้สิ้นสุด        ด้วยคำพุทธไตรเพทเทศนา
เป็นทุกขังอนิจจังอนัตตา                     อันเกิดมาเป็นบุคคลไม่พ้นตาย
สุขกันโศกเหมือนหนึ่งโรคสำหรับร่าง             รำพึงพลางหักให้พระทัยหาย
กลับคืนเข้าแท่นสุวรรณพรรณราย       ตรัสสอนสายสุดสวาทนาฏอนงค์

                สัจธรรมของชีวิต
อันรูปเหมือนเรือนโรคโสโครกครบ เครื่องอาศภสูญกลับอัปลักษณ์
ล้วนเปื่อยเน่าเก่าลงอย่าหลงนัก ไม่พักรักรูปนี้เกลียดรังเกียจใจ

     บุตรพึงปฏิบัติต่อบิดามารดา
พระชนกชนนีเป็นที่ยิ่ง ไม่ควรทิ้งทอดพระคุณให้สูญหาย
แม้นมารดรร้อนโรคทุกข์โศกเศร้า จะมาเฝ้าฟูมฟักอยู่รักษา

     ภรรยาพึงปฏิบัติต่อสามี
จงทำชอบนอบน้อมค่อยออมอด บำรุงรสรักใคร่อย่าให้หมอง
แม่เนื้อเย็นเป็นที่พึ่งพี่น้อง จงตรึกตรองครององค์ให้จงดี
หนึ่งบิตุราชมาตุรงค์ของทรงฤทธิ์ อย่าควรคิดขัดข้องให้หมองศรี
จงฝากองค์วงศาสวามี ได้เป็นที่พึ่งพาให้ถาวร

     การปกครองแผ่นดิน
จงสัตย์ซื่อถือบทตามกฎหมาย อย่าคิดร้ายทุจริตผิดวิสัย
แม้นประมาทราชทัณฑ์จะบรรลัย ทำชอบได้เกียรติยศจะงดงาม
แม้นมีศึกฮึกสู้มาจู่จาบ คิดปรามปราบเสียให้เตียนซึ่งเสี้ยนหนาม
ได้เย็นเกล้าชาวบูรีแลชีพราหมณ์ เจริญความสุขสง่าแก่ธานี

  ทั้งยังกล่าวไว้เป็นสุภาษิต คำพังเพย ซึ่งให้แนวทางการดำเนินชีวิตอันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้อ่าน เช่น   เหมือนต่อเรือเหลือลํ้ากว่าลำคลอง จึงขัดข้องค้างนํ้าต้องตำรา
     เหมือนหิ่งห้อยน้อยแสงจะแข่งแข จะมีแต่อัปภาคย์ยากหนักหนา 
และ  - อันน้ำน้อยแพ้ไฟดับไม่หาย - ชลธารน้อยนักแพ้อัคคี
         - อยู่ใต้ฟ้าแล้วตัวอย่ากลัวฝน - เหมือนคงคาขึ้นคงกลับลงคลอง
         - เหมือนเสียเกลือเนื้อเน่าไม่เข้ายา - ข้าสองเจ้าบ่าวสองนาย


คุณค่าของวรรณคดี

    1.คุณค่าทางศีลธรรม
กวีสอดแทรกคติ คำสอน และศีลธรรม ไว้ในเนื้อเรื่องบ้าง ถ้อยคำบรรยายบ้าง ในถ้อยคำสนทนาบ้าง ผู้อ่านรับคติ ข้อคิดที่ดีงามไปโดยไม่รู้ตัว

    2. คุณค่าทางปัญญา
ผู้อ่านจะได้รับความรู้เพิ่มขึ้นได้ข้อคิด ขยายทัศนคติให้กว้างขวางขึ้น

    3. คุณค่าทางอารมณ์
ทำให้ผู้อ่านเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ในเรื่องความรู้สึกและอารมณ์ต่าง ๆ ของตัวละคร ทั้งความดีใจ ความเสียใจ ความโกรธ ความรัก ความกลัว เป็นต้น ทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์คล้อยตามหรืออารมณ์สะเทือนใจไปด้วย

    4 .คุณค่าทางวัฒนธรรม
วรรณคดีทำหน้าที่สืบต่อวัฒนธรรมของชาติ จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง วรรณคดีจะสอดแทรกวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นมนุษย์ ประเพณีต่าง ๆ ของสังคม

    5.คุณค่าทางประวัติศาสตร์
ถ้าอ่านประวัติศาสตร์ จะเบื่อหน่ายหลงลืม แต่ถ้าอ่านวรรณคดี เช่นลิลิตตะเลงพ่าย จะจำเรื่องยุทธ์หัตถีได้ดีขึ้น และเห็นความสำคัญของเหตุการณ์กับบ้านเมือง

    6.คุณค่าทางจินตนาการ
ผู้มีจินตนาการ มักเป็นผู้มองเห็นการณ์ไกล ทำสิ่งใดด้วยความรอบคอบ

    7.คุณค่าทางทักษะเชิงวิจารณ์
การอ่านมาก เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ชีวิต วรรณคดีเป็นสิ่งยั่วยุให้ผู้อ่านใช้ความคิดตรึกตรอง ตัดสินว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี เป็นการฝึกการใช้วิจารณญาณ ก่อให้เกิดทักษะเชิงวิจารณ์

    8.คุณค่าในด้านวรรณศิลป์
คือคุณค่าในด้านการใช้ถ้อยคำที่ไพเราะ มีการบรรยายการเปรียบเทียบได้ชัดเจนทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพมีถ้อยคำสำนวนที่ ให้แง่คิด คติสอนใจ ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

    9.คุณค่าในด้านสภาพชีวิตสมัยบรรพบุรุษ
ทำให้ผู้อ่านได้ทราบสภาพชีวิต ความเป็นอยู่ ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนและบ้านเมืองในสมัยนั้น และบางเรื่อง กวีได้นำเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มาเป็นข้อมูลในการแต่ง ซึ่งผู้อ่านสามารถนำมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้

    10. คุณค่าในด้านศิลปะอื่น ๆ
วรรณคดีแต่ละเรื่องยังให้ความรู้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านในด้านศิลปะต่าง ๆ เช่น สถาปัตยกรรม จิตรกรรม เพลง ละคร ภาพยนตร์ เป็นต้น


บทที่5 ตัวละครในวรรณคดีสิงหไกรภพ



ตัวละครในวรรณคดีสิงหไกรภพ

           สิงหไกรภพ                 ผู้เจนจบในกระบวนยุทธ์
            สร้อยสุดา                   ผู้จงรักภักดี
            เทพทิพดา                   พี่ชายผู้เสียสละ
            รามวงศ์                      ลูกกตัญญู
            แก้วกินรี                     สตรีผู้มีน้ำใจงาม
            คงคาประลัย                ผู้ไม่รู้คุณคน
            ท้าวอินณุมาศ              พ่อผู้มีแต่ความรักความเมตตาและเชื่อใจ
            มเหสีจันทร                 แม่ผู้มีแต่ความรักความเมตตาและเชื่อใจความเมตตา
            พินทุมาร                     พ่อผู้มีแต่ให้
            ท้าวจัตุพักตร์               ยักษ์ที่ทีแต่ความพยาบาท
            ท้าวเทพาสูร                ยักษ์ผู้โง่เขลาเบาปัญญา
            ประลัยกัลป์                 ยักษ์มิตรแท้ผู้ไม่ทอดทิ้งเพื่อน
            เทวราช                        หนุ่มน้อยผู้มีพิณเป็นอาวุธ
            นางอองออย                ผีกองกอยตีนเดียว
            และเหล่าเสนาอามาตย์และนางสนมกำนัล ทั้งหลาย ๆ


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

บทที่4 ตัวอย่างบทประพันธ์



ตัวอย่างบทประพันธ์


ซึ่งสัจจังที่ตั้งเมตตาจิต                     มิได้คิดแสร้งเสกอุเบกษา
ด้วยเลี้ยงคงคาประลัยจนใหญ่มา     ทั้งเวลากินนอนไม่ร้อนรน
มันกลับขวิดคิดร้ายทำลายล้าง         ฆ่าผู้สร้างสืบสายฝ่ายกุศล
เสียชีวิตก็เพราะคิดเมตตาคน           ทั้งสากลจงเห็นเป็นพยาน


ดำริธรรมกรรมฐานสังหารรัก          ด้วยไตรลักษณ์หักธุระพระฤาษี
อันรูปทรงหลงเห็นว่าเป็นดี              คือซากผีพองเน่าเสียเปล่าดาย
เหมือนหิ่งห้อยน้อยแสงจะแข่งแข    จะมีแต่อัปภาคย์ยากนักหนา
ถึงได้อยู่สู่สมภิรมยา                          เหมือนเป็นข้าเมียตัวย่อมกลัวเกรง

                   
เหมือนคำพระเทศนาท่านว่าขาด             ใครคบปราชญ์ก็เป็นปราชญ์ในสัณฐาน
ใครคบพาลก็จริตติดเป็นพาล                   เหมือนนิทานช้างทรงกษัตรา
 มีโจรไพรมาอาศัยในโรงช้าง                  พูดแต่ข้างหุนหันจะฟันฝ่า
จนช้างพลายร้ายตามไอ้โจรา                    ครั้นเสนาขับโจรเสียทันที
ให้ชีพราหมณ์รามราชมาอยู่ชิด                 กระทำกิจส่วนศีลพระชินสีห์
พระยาช้างได้สดับก็กลับดี                        พระบาลีทรงตัวไม่กลัวไย


แต่ปางหลังยังมีบูรีเรือง                       ชื่อว่าเมืองโกญจาสถาวร
นามพระองค์ซึ่งดำรงอาณาราษฎร์      อินณุมาศบพิตรอดิศร
พระนามนางเกศสุรางคนิกร               ชื่อจันทรแก้วกัลยาณี
แสนสนมหมื่นประนมประณตน้อม      ดังดาวล้อมจันทราในราศี
ทั้งเสนาพฤฒามาตย์ราชกวี                  อัญชุลีเพียบพื้นพระโรงเรียง
สำราญรอบขอบคันนิคมเขต                ทั่วประเทศพิณพาทย์ไม่ขาดเสียง
สองพระองค์ทรงธรรมไม่ลำเอียง        ไร้แต่เพียงบุตราธิดาดวง ฯ


ท้าวกุมภัณฑ์ครั้นเห็นไม่กลับหลัง                จึงร้องสั่งลูกน้อยเสน่หา
พ่อก็อ้อนวอนปลอบเป็นหลายครา                ทั้งพี่น้องสองราไม่เชื่อใจ
เป็นเหตุเพราะเคราะห์กรรมของพ่อแล้ว        จะคลาดแคล้วลูกรักถึงตักษัย
สะอื้นพลางทางสะท้อนถอนฤทัย                  ชลนัยน์ซึมซาบลงอาบพักตร์
แต่ซบเสือกเกลือกกลับกระสับกระส่าย         ไม่เหือดหายหวงห่วงให้หน่วงหนัก
สิ้นกุศลผลกรรมมานำชัก                               พญายักษ์ขาดใจบรรลัยลาญ ฯ


พวกโยคีชีพราหมณ์ขึ้นสามสร้าง                    หนังสือกางต่างประกวดสวดคาถา
เหล่าฤๅษีชีไพรใส่ชฎา                                     นิมนต์มาบังสุกุลทำบุญทาน
ถวายร่มพรมหนังเครื่องสังเค็ด                        ครั้นสรรพเสร็จสวดสิกขาฉันอาหาร
ฝ่ายชาวคลังบังคมก้มกราบกราน                     ขึ้นทิ้งทานกำมพฤกษ์เสียงคึกคัก
พวกชายหญิงชิงมะนาวทั้งสาวหนุ่ม                เป็นกลุ่มกลุ่มกลุ้มกลัดพลิกพลัดผลัก
บ้างแกะมือยื้อลากกระชากชัก                         เสียงอึกอักอุตลุดฉวยฉุดชิง
พวกชายเบียดเสียดสาวพลาดเท้าล้ม                แกล้งเกลียวกลมกอดปลํ้าขยำหญิง
เสียงฮาเฮเซซวนป่วนประวิง                           บ้างล้มกลิ้งวิ่งโจนลุยโคลนเลน ฯ


บทที่3 เรื่องย่อ


   เรื่องย่อ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพสิงหไกรภพ


ณ นครโกญจา พระเจ้าอินณุมาศและพระนางจันทร์แก้วปรารถนาจะได้บุตรไว้สืบสันตติวงศ์  แต่หลายปีผ่านไปก็ยังไม่สมปรารถนา จนกระทั่งวันหนึ่งแม่ทัพอำนาจยกทัพไปปราบโจรสลัดหิมวัฒได้ แล้วพาตัวลูกชายของจอมโจรวัย 5 ปีมาถวายพระเจ้าอินณุมาศและพระนางจันทร เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงทอดเนตรก็รู้สึกเอ็นดูรักใคร่ ปรารถนาจะได้เด็กนั้นเป็นลูก แม้แม่ทัพอำนาจกับอำมาตย์กุศล ทูลทัดทานว่าจะเป็นการเลี้ยงลูกเสืออาจเกิดเภทภัยได้ ทั้งสองพระองค์ก็ไม่สนใจด้วยความรักหลงในเด็กน้อยนั่นบังตาเสียสิ้น  พระเจ้าอินณุมาศตั้งชื่อเด็กน้อยนั้นว่า คงคาปราลัย คงคาปราลัยเติบโตขึ้นมาพร้อมกับนิสัยที่ดุร้ายไม่ผิดผู้เป็นพ่อ ยิ่งได้อำมาตย์กระแจะกับอำมาตย์กระจานคอยยุยงส่งเสริมหวังประจบเพื่อความดีความชอบ ก็ยิ่งทำให้คงคาปราลัยกระทำชั่วช้ามากยิ่งขึ้น แต่เมื่ออยู่ต่อหน้าพระราชาก็จะประจบเอาใจ จนพระราชาไม่ทรงล่วงรู้ถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของคงคาปราลัย 
ต่อมาพระนางจันทร์แก้วทรงสุบิลประหลาดว่าได้ดวงอาทิตย์มาแล้วถูกแย่งชิงไปจากผู้วิเศษ โหรทำนายว่าจะได้พระโอรสไว้สืบสกุลและจะเป็นพระโอรสที่ยิ่งใหญ่ แต่เมื่อยังเล็กจะถูกพรากจากไป เมื่อเติบใหญ่จึงจะได้พบกันอีกครั้ง ทำให้คงคาปราลัยอิจฉา จึงสมคบคิดกับอำมาตย์ฝ่ายตน ก่อกบถแย่งชิงบัลลังค์จากพระเจ้าอินณุมาศ พระเจ้าอินณุมาศกับพระนางจันทร์แก้วต้องหลบหนีออกจากนครไป  แล้วไปหลบซ่อนตัวอยู่ในป่า พรานสิงห์ มาพบเข้าก็สงสารจึงพามาอยู่ในหมู่บ้าน ให้ช่วยทำนาทดแทนคุณฝ่ายอำมาตย์กุศลและ หมื่นระบิลจำใจต้องยอมสยบต่อคงคาปราลัย เพื่อคอยหาจังหวะช่วงชิงอำนาจกลับคืน
คงคาปราลัยเมื่อได้ขึ้นเป็นพระราชาก็ก่อการปล้นฆ่าชาวบ้านด้วยความคึกคะนองหยาบช้า  จนทำให้บ้านเมืองเดือดร้อนไปทุกหย่อมหญ้า ในที่สุดอำมาตย์กุศลกับพวกและชาวเมืองก็หาทางกำจัดคงคาปราลัยได้สำเร็จ แล้วจึงออกตามหาพระราชาอินณุมาศต่อไป พระนางจันทร์แก้วคลอดลูกออกมาเป็นชายสมดั่งที่โหรทำนาย ก็ปลาบปลื้มนักเฝ้าถนอมเลี้ยงเป็นอย่างดี แต่ก็ยังถูกชาวบ้านบางคนไม่พอใจ คอยหาทางกลั้นแกล้งให้ออกไปทำงาน จึงต้องทิ้งลูกเอาไว้กับเด็กชาวบ้านตามลำพัง ทีหมู่บ้านพราหมณ์ พรหมณ์จินดา วัย 12 ขวบ ได้รับคำสั่งจากพราหมณ์บิดาให้ไปสืบหาเด็กที่มีบุญบารมีแล้วนำมาเลี้ยงดู  ก็จะทำให้พราหมณ์จินดาเจริญรุ่งเรืองได้เป็นใหญ่เป็นโตต่อไป 
พราหมณ์จินดาจึงออกตามหาเด็กที่ว่า จนกระทั่งมาพบกับลูกพระนางจันทร์แก้ว เห็นว่ามีคุณลักษณ์ต้องตามที่บิดาบอกไว้ จึงตัดสินใจลักพาตัวกุมารไป  เมื่อพระนางจันทร์แก้วกลับมาก็ไม่พบลูก  จึงออกตามหากันทั้งหมู่บ้านแต่ก็ไม่พบแม้นแต่เงา  พระนางจันทร์แก้วแทบจะขาดใจตายที่ลูกถูกพรากไป แต่เมื่อนึกถึงคำทำนายของโหรที่ว่าลูกจะถูกพรากไป แล้วจะได้กลับมาพบกันในที่สุด พระนางจึงหักห้ามความเสียใจได้ เมื่ออำมาตย์กุศลตามมาพบจึงทูลเชิญเสด็จกลับไปครองเมืองโกญจาฝ่ายพราหมณ์จินดาพากุมารน้อยระหกระเหินมากลางป่า  จนกระทั่งมาพบกับ ยักษ์พินทุมาร เมื่อยักษ์พินทุมารเห็นเด็กทั้งสองก็เกิดความรัก จึงนำมาเลี้ยงเพราะตัวเองไม่มีลูก แล้วจึงให้ นางยักษ์ไกรสรที่มีชาติกำเนิดเป็นนางสิงห์เลี้ยงดูให้นม แบบมารดา เพราะนางไกรสรกำลังมีลูกอ่อนชื่อ อัปสร พอดี แล้ววันเวลาก็ผ่านไป 5 ปี กุมารน้อยได้ชื่อว่า สิงหไกรภพ ได้เติบโตขึ้นมาด้วยความรักใคร่ของยักษ์พินทุมาร แต่นางไกรสรนั้นคอยหาทางจะกินสิงหไกรภพตลอดเวลา ทำให้ผิดใจกับลูกสาวที่เป็นเพื่อนเล่นกับ สิงหไกรภพ ต่อมาสิงหไกรภพชวนพราหมณ์จินดาไปเที่ยวเล่นในที่หวงห้าม จึงได้พบต้นไม้วิเศษ ที่ใบของมันกินแล้วจะกลายเป็น นาค นกแก้ว และลิงได้เด็กน้อยจึงลองกินดู แล้วกลายร่างเป็นนาค ยักษ์พินทุมารกลับมาเห็น จึงนำน้ำจากแอ่งผาในซอกหินมาลูบตัวเด็กน้อยทั้งสอง จนกลับมาเป็นคนตาม เดินแล้วสั่งห้ามเข้ามาซุกซนกันอีก
พราหมณ์จินดาตัดสินใจเล่าให้สิงหไกรภพ ฟังว่า พินทุมารมิใช่พ่อแท้ๆ แต่เป็นยักษ์ที่บังคับให้ พราหมณ์จินดากับสิงหไกรภพมาเป็นลูกสิงหไกรภพอยากพบหน้าพ่อแม่ที่แท้จริง จึงชวนกันหาทาง หนียักษ์พินทุมาร ระหว่างนั้นมีวิทยาธรชื่อ เพชรพญาทร แอบมาลักพระขรรคค์ประกายฟ้า ที่ พินทุมารตั้งใจจะให้สิงหไกรภพไป ยักษ์พินทุมารจึงออกตามล่าเอาพระขรรค์คืน
สิงหไกรภพจึงชวนพราหมณ์จินดาไปเด็ดใบไม้วิเศษ จึงได้พบกับน้าผีที่ทำหน้าที่เฝ้าต้นไม้นั้น น้าผีรักเอ็นดูเด็ก จึงสั่งว่าหากเดือดร้อนก็ให้นึกถึง แล้วน้าผีจะมาช่วยสิงหไกรภพพาพี่ชายหนีออกมาได้ ยักษ์ พินทุมารรบกับเพชรพญาทรไม่แพ้ชนะ คิดถึงลูกจึงหวนกลับมาก็ไม่พบลูก จึงออกตามหาจนทัน แต่สิงหไกรภพได้หนีจนพ้นเขตถ้ำแก้วของยักษ์พินทุมารไปแล้ว ยักษ์พินทุมารเสียใจที่ลูกรักหนีจาก ตัดสินใจสั่งเสียลูกขอให้ตามเอาพระขรรค์วิเศษคืนจากวิทยาทรให้ได้ พร้อมให้สายรุ้งวิเศษไว้ป้องกันตัว จากนั้นก็สิ้นใจตาย
สิงหไกรภพเสียใจที่ยักษ์พินทุมารต้องตายไป เมื่อหักห้ามใจได้แล้วก็ชวนพี่ชาย พากันไปหา เพชรพญาทรจนเกิดสู้รบกัน แต่เด็กทั้งสองก็รบสู้เพชรพญาทรไม่ได้ เพราะเพชรพญาทรได้รับ พรวิเศษว่าไม่มีใครสามารถฆ่าให้ตายได้ นอกจาก เทวี 4 ตา เท่านั้น สิงหไกรภพยังไม่ละความพยายาม ออกตามหาเทวี 4 ตา เพื่อจะขอให้เทวี 4 ตาไปฆ่าเพชรพญาทร สิงหไกรภพเดินทางมาจนพบนครมารัน จึงกินดอกไม้วิเศษให้ร่างกายเป็นนกแก้วบินเข้าไปในพระราชวังจนพบกับ พระธิดาสร้อยสุดา สิงหไกรภพกลายร่างเป็นเด็กตามเดิม แล้วเข้ามาเล่นกับพระธิดาจนสนิทสนมกัน สิงหไกรภพถามหาเทวี 4 ตา สร้อยสุดาไม่รู้จัก สิงหไกรภพจึงต้องออกตามหาเทวี 4 ตาต่อไป ก่อนจากกันสิงหไกรภพได้มอบแหวนให้สร้อยสุดา สร้อยสุดาก็พาสิงหไกรภพไปหลบซ่อนในดอกบัวใหญ่ที่สร้อยสุดากำเนิดขึ้นมา (สร้อยสุดาเป็นนางที่เกิดในดอกบัวไม่ใช่ยักษ์)
สิงหไกรภพกับพี่ชายออกมาจากเมืองมารันของ จตุรพักตร ก็พากันออกค้นหาเทวี 4 ตา ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งบนฟ้าในมหาสมุทรถิ่นที่อยู่ของพญานาค จนกระทั่งได้พบกับพญาลิงชื่อ วาตะ และ ปู่นกฮูก ที่คอยช่วยเหลือและช่วยรบกับเพชรพญาทรอยู่หลายครั้ง หลายปีผ่านไป สิงหไกรภพเติบโตเป็นหนุ่มน้อยรูปงาม พราหมณ์จินดาจึงพากลับมายังหมู่บ้านพราหมณ์ พราหมณ์ผู้เฒ่าคนนึงเข้ามาทักทายพราหมณ์จินดา เมื่อพราหมณ์จินดาแนะนำว่า สิงหไกรภพเป็นน้องพราหมณ์เต่าก็ค้านว่าไม่ใช่เพราะรู้ดีว่าแม่ของพราหมณ์จินดามีลูกชายเพียงคนเดียวเท่านั้น ทำให้สิงหไกรภพเริ่มสงสัยในชาติกำเนิดที่แท้จริงของตน จึงขอให้พราหมณ์จินดาเล่าให้ฟัง พราหมณ์จินดากลัวน้องชายโกรธ จึงเพียงแต่เล่าว่าถูกยักษ์พินทุมารบังคับให้ไปลักสิงหไกรภพมาจากในป่า เพื่อมาเลี้ยงดู โดยที่ตัวเองก็ไม่รู้ว่าแม่สิงหไกรภพเป็นใคร สิงหไกรภพจึงชวนพี่ชายออกตามหาพ่อแม่และเพชรพญาทรต่อไป สิงหไกรภพเดินมาจนพบนครมารันอีกครั้ง แต่ยังจำไม่ได้ว่าเคยมา สิงหไกรภพกินใบไม้วิเศษกลายร่าง เป็นนกแก้วเข้าไปในสวนดอกไม้ เห็นสร้อยสุดาอยู่ในสวนก็เกิดหลงรัก บินมาใกล้แล้วพูดคุยด้วยสร้อยสุดาเห็นนกพูดได้ก็เอ็นดูพาไปเลี้ยงดูในตำหนัก หลายวันผ่านไปสิงหไกรภพก็กลายร่างเป็นคน เมื่อสร้อยสุดาเห็นสิงหไกรภพก็นึกชอบ จนกระทั่งกลายเป็นความรักต่อไป และลักลอบได้เสียกันในที่สุด หลายวันเข้าพวกนางกำนัลยักษ์ก็พากันสงสัยเพราะได้กลิ่นมนุษย์ พากันไปทูลจตุรพักตร จตุพักตรให้ทหารยักษ์ออกค้นหาจนทั่วก็ไม่พบ ต่อมาสร้อยสุดาท้องก็เกิดหวาดหวั่นกลัวพ่อจะโกรธ สิงหไกรภพจึงชวนสร้อยสุดาหนีออกจากนครมารัน โดยกินใบไม้ให้กลายเป็นนกแก้วแล้วพากันบินหนีไป ทำให้จตุรพักตรโกรธมาก ลั่นวาจาว่าต้องฆ่าสิงหไกรภพให้จงได้
สิงหไกรภพพาสร้อยสุดาและพราหมณ์จินดารอนแรมมากลางป่า เพชรพญาทรมาเห็น สร้อยสุดานอนหลับอยู่ ขณะสิงหไกรภพไปหาอาหาร จึงลักพาตัวสร้อยสุดาไปไว้ในถ้ำของตน สิงหไกรภพกลับมาไม่เห็นสร้อยสุดา ก็เสียใจพากันออกตามหา เพชรพญาทรพยายามจะลวนลามสร้อยสุดาก็ทำไม่ได้ เพราะเมื่อใกล้ตัวนางคราใดก็จะเหมือนจับต้องเปลวไฟทุกครั้งไป
น้าผีและพราหมณ์จินดาแปลงกายเป็นนกออกตามหา จนพบสร้อยสุดาอยู่ในถ้ำ จึงกลับมาบอก สิงหไกรภพ ทั้งสามจึงพากันแปลงกายมาหาสร้อยสุดานัดแนะแผนการที่จะฆ่าเพชรพญาทร ต่อมาเพชรพญาทรรู้ว่าสร้อยสุดาวางแผนจะเล่นงานตน ก็จะใช้พระขรรค์เล่นงานสร้อยสุดา จากทางด้านหลัง ปรากฏว่าสร้อยสุดาสามารถเห็นเพชรพญาทรจากทางด้านหลังได้ จึงหันกลับมาแทงเพชรพญาทรตาย ทำให้ทุกคนได้รู้ว่าที่แท้แล้วสร้อยสุดาก็คือ เทวี 4 ตา ผู้ซึ่งสามารถมองเห็นได้รอบทิศนั่นเอง
เมื่อเพชรพญาทรตายแล้ว พราหมณ์จินดาจึงพาสิงหไกรภพออกตามหาพ่อแม่ที่แท้จริง ระหว่างทาง ยักษ์จตุรพักตรได้ติดตามมา แล้วพาตัวสร้อยสุดากลับไปนครมารันได้ สร้อยสุดาจำใจต้องกลับไปกับพ่อ เพราะไม่ต้องการให้สิงหไกรภพถูกพ่อฆ่าตาย สิงหไกรภพตัดสินใจออกตามหา พ่อแม่ก่อน แล้วค่อยติดตามสร้อยสุดาในภายหลัง พราหมณ์พาสิงหไกรภพมาจนถึงหมู่บ้านนายพราน สืบถามหาพ่อแม่สิงหไกรภพ จึงรู้ว่าเป็นพระราชานครโกญจา
สิงหไกรภพกับพี่ชายจึงพากันมาที่นครโกญจา ทำให้พ่อแม่ลูกที่พรากจากกันสิบกว่าปีได้กลับมาพบกันอีก จากนั้นสิงหไกรภพจึงหาทางกลับนครมารันเพื่อไปรับสร้อยสุดากลับมาแต่ก็ไม่สามาถเข้านครมารันได้ เพราะยักษ์จตุรพักตรได้ใช้เวทมนต์ปิดบังนครเอาไว้ จนกระทั่งสร้อยสุดาคลอดลูกชาย ท้าวจตุรพักตรจึงตัดสินใจจะฆ่าสิงหไกรภพ โดยทำเป็นเปิดเมืองให้ทุกคนเห็น เพื่อล่อให้สิงหไกรภพเข้ามา แล้วหาทางจะฆ่าทิ้ง สิงหไกรภพเข้ามาพบสร้อยสุดาได้แต่ก็ถูกไล่ตามฆ่าจึงต้องหนีกลับเมืองโกญจาพร้อมสร้อยสุดา จตุรพักตรแค้นมากยกทัพมาตี พลยักษ์มากมายสุดที่ สิงหไกรภพจะต้านได้ พระฤาษี จึงต้องมาช่วยสอนเวทมนต์ให้สิงหไกรภพ ผูกหุ่น พยนตร์เพื่อสู้รบกับพลยักษ์ หุ่นพยนตร์ฆ่าไม่ตาย แต่พลยักษ์กลับล้มตายจนหมดสิ้น ในที่สุด จตุรพักตรก็ถูกฆ่าตาย สิงหไกรภพจึงครองคู่กับสร้อยสุดาต่อไปอย่างมีความสุข

บทที่2 ประวัติวรรณคดีสิงหไกรภพ



ประวัติวรรณคดีสิงหไกรภพ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพวรรณคดีสิงหไกรภพ


สิงหไตรภพ เป็นกลอนนิทานเรื่องหนึ่ง ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่ มักนิยมเรียกกันในชั้นหลังว่า สิงหไตรภพ เชื่อว่าสุนทรภู่แต่งขึ้นเพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์เมื่อครั้งถวายพระอักษร และในภายหลังได้แต่งต่อเพื่อถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ ฯ
สิงหไตรภพเป็นนิทานคำกลอนที่มีเค้าโครงเรื่องสนุกสนานการผูกเรื่องชวนให้อ่านติดตาม ประกอบกับมีสำนวนโวหารที่จับใจผู้อ่านอยู่หลายตอนและเนื้อหาของเรื่องให้สาระอันเป็นคุณประโยชน์แก่ผู้อ่าน จึงทำให้วรรณคดีเรื่องสิงหไตรภพเป็นที่ชื่นชอบและติดตรึงใจคนไทยมาช้านาน
เนื้อเรื่องของสิงหไตรภพ เกี่ยวกับตัวละครเอก ชื่อ สิงหไตรภพ ที่พลัดบ้านเมืองแต่เล็ก ถูกลักพาตัวไปและเลี้ยงดูเติบโตขึ้นมาในบ้านพราหมณ์จินดา สิงหไตรภพเรียกพราหมณ์ว่าพี่ชาย เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นการผจญภัยของสองพี่น้องนี้ และมีมนตร์วิเศษน่าตื่นตาตื่นใจ เหมาะแก่การเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก จึงเป็นกลอนนิทานที่ถูกนำมาดัดแปลงเป็นละครหลายครั้ง และมักใช้ชื่อเรื่องว่า "สิงหไกรภพ"


    ผู้แต่ง

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

        ผลงานประพันธ์ของ สุนทรภู่


จุดมุ่งหมายในการแต่ง

สิงหไกรภพ เป็นนิทานคำกลอนที่มีความยาวรองลงมาจากเรื่องพระอภัยมณี คือมีความ ยาว ๑๕ เล่มสมุดไทย
บางคนกล่าวว่าสุนทรภู่แต่งเรื่องนี้เพื่อประชันกับเรื่องไกรทองพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
นายธนิต อยู่โพธิ์ กล่าวว่าสุนทรภู่เริ่มแต่งนิทานเรื่องนี้ ตอนปลายสมัยรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๖๗) เพื่อถวายเจ้าฟ้าอาภรณ์ (ขณะนั้นยังทำหน้าที่ถวายพระอักษรเจ้าฟ้าอาภรณ์อยู่) แล้วมาแต่งต่อในสมัยรัชกาลที่ ๓ เข้าใจว่าแต่งถวายกรมหมื่นอัปสรสุดาเทพ แต่เรื่องค้างอยู่ แต่งไม่จบ


ลักษณะคำประพันธ์


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพสิงหไกรภพฉันทลักษณ์


กลอนบทละคร เป็นกลอนสุภาพประเภทหนึ่งจัดอยู่ในหมวดกลอนขับร้อง เช่นเดียวกับกลอนดอกสร้อยสักวา กลอนเสภา และเพลงไทยเดิม


วัตถุประสงค์ในการแต่งกลอนบทละคร 
             เพื่อนำไปแสดงละครร้องและรำ ซึ่งในอดีตถือเป็นการแสดงชั้นสูงที่มีเฉพาะในรั้วในวังเท่านั้น


ลักษณะบังคับ (ฉันทลักษณ์)
กลอนบทละคร เช่นเดียวกับกลอนสุภาพ แต่จำนวนคำในวรรค จะอยู่ที่จำนวน ๖-๗ เป็นส่วนมาก ทั้งนี้เพื่อให้จังหวะของเสียงเข้ากับท่าร่ายรำของตัวละคร และท่วงทำนองเพลงปี่พาทย์
          นอกจากนี้ กลอนบทละคร จะมีคำนำ ในบางบท เพื่อบอกถึงการกระทำ หรือเหตุการณ์สำคัญ ที่กำลังดำเนินไป ซึ่งจะมีอยู่ ๒ คำ คือ "เมื่อนั้น" กับ "บัดนั้น"คำว่า "เมื่อนั้น" ใช้สำหรับตัวละครสูงศักดิ์ ส่วนคำว่า"บัดนั้น" ใช้สำหรับตัวละครชั้นสามัญ