บทที่๑ ความหมายวรรณคดี


วรรณคดีสิงหไกรภพ


   ความหมายวรรณคดี

          วรรณคดี หมายถึง วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และมีคุณค่าทางวรรณศิลป์ การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้นในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ 

          วรรณคดี เป็นวรรณกรรมที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี มีคุณค่า สามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน ใช้ภาษาที่ไพเราะ เหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น รู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร 


     ประเภทของวรรณคดี

          ๑.การจำแนกวรรณคดีตามลักษณะการประพันธ์ คือ
ร้อยแก้ว (หนังสือวรรณคดีทัศนาให้ภาษาอังกฤษว่า Prose และไม่รวมหนังสือนิยายไว้ด้วย) เป็นหนังสือที่แต่งด้วยความเรียงไม่มีการกำหนดคำ สัมผัส และบังคับอื่นๆ เช่น ร้อยกรอง
-ร้อยกรอง (หนังสือวรรณคดีทัศนาให้ภาษาอังกฤษว่า Poetryเป็นหนังสือที่แต่งขึ้นตามรูปแบบของฉันทลักษณ์ที่กำหนดที่แสดงออกถึงความงามของภาษาและอารมณ์ของผู้แต่งในขณะเดียวกัน
-บทละคร (หนังสือวรรณคดีทัศนาให้ภาษาอังกฤษว่า Dramaเป็นงานเขียนที่ผู้เขียนมีจุดประสงค์ให้นำออกแสดงให้คนชมเป็นประการแรกและภายหลังนิยมนำบทละครมาพิมพ์ให้คนอ่านด้วย สมัยโบราณนิยมเขียนเป็นร้อยกรองสมัยใหม่นิยมเขียนเป็นร้อยแก้ว
-นิยาย (หนังสือวรรณคดีทัศนาให้ภาษาอังกฤษว่า Fictionเป็นงานประพันธ์ร้อยแก้วที่แต่งขึ้นจากจินตนาการของผู้เขียนมากกว่าจะแต่งขึ้นจากประวัติศาสตร์หรือความเป็นจริง แต่หนังสือของผู้ช่วยศาสตราจารย์บรรเทา จัดให้นิยายรวมอยู่ในร้อยแก้วประเภทบันเทิงคดีมุ่งให้ความบันเทิง
          ๒. การจำแนกวรรณคดีตามหลักฐาน เป็นการจำแนกวรรณคดีตามลักษณะการถ่ายทอดวรรณคดี แบ่งเป็น
-วรรณคดีที่ไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นวรรณคดีที่บอกกล่าวจดจำกันมา เรียกกันว่า วรรณคดีมุขปาฐะ ไม่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน(วรรณคดีในสมัยเริ่มแรกของทุกชาติทุกภาษาจะใช้เพียงภาษาพูดและถ่ายทอดสืบต่อกันมาโดยใช้ความจำ :วรรณคดีทัศนา)
-วรรณคดีที่บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นวรรณคดีที่บันทึกไว้เป็นตัวหนังสือ เมื่อมีภาษาเขียน และภาษาเขียนก็เป็นสื่อช่วยให้วรรณคดีแพร่หลายกว้างขวางอย่างไม่มีขีดจำกัด 



รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น